Dhammapada ๒๐. หมวดทาง – The Path/ Magga – Der Pfad

Kapitel 20.

๒๗๓. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ฯ ๒๗๓ ฯ
ยอดแห่งมรรคา คืออัษฎางคิกมรรค ยอดแห่งสัจจะ คืออริยสัจสี่ประการ ยอดแห่งธรรม คือความปราศจากราคะ ยอดแห่งมนุษย์ คือพระผู้เห็นแจ้ง
Best of paths is the Eightfold Path. Best of truths is the Four Noble Truths. Best of conditions is Passionlessness. Best of men is the Seeing One.
๒๗๔. เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารสฺเสตํ ปโมหนํ ฯ ๒๗๔ ฯ
มีทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น ที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งทัศนะ พวกเธอจงเดินตามทางนี้เถิด ทางสายนี้พญามารมักเดินหลงเสมอ
This is the only way; None other is there for the purity of vision. Do you enter upon this path, Which is the bewilderment of Mara.
๒๗๕. เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ อกฺขาโต เว มยา มคฺโค อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ ฯ ๒๗๕ ฯ
เมื่อเดินตามทางสายนี้ พวกเธอจักหมดทุกข์ ทางสายนี้เราได้ชี้บอกไว้ หลังจากที่เราได้รู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลส
When walking along this path, You shall make an end of suffering This is the Way made known by me When I had learnt to remove all darts.
๒๗๖. ตุมฺเหติ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา ฯ ๒๗๖ ฯ
พวกเธอจงพยายามทำความเพียรเถิด พระตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ผู้บำเพ็ญฌานเดินตามทางสายนี้ ก็จะพ้นจากเครื่องผูกของพญามาร
You yourselves should make an effort, The Tathagatas can but show the Way. The meditative ones who walk this path Are released from the bonds of Mara.
๒๗๗. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิใทฺธิยา ฯ ๒๗๗ ฯ
“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงแท้” เมื่อใดบุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
‘Impermanent are all conditioned things’, When thus one sees with wisdom, Then is one disgusted with ill. This is the path to purity.
๒๗๘. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๘ ฯ
“สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” เมื่อใดบุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
‘Full of ill are conditioned things’, When thus one sees with wisdom, Then is one disgusted with ill. This is the path to purity.
๒๗๙. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๙ ฯ
“ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” เมื่อใดบุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
‘Lacking permanent entity are all events’, When thus one sees with wisdom, Then is one disgusted with ill. This is the path to purity.
๒๘๐. อุฎฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต สํสนฺนสงฺกปฺปม กุสีโต ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ ฯ ๒๘๐ ฯ
คนเราเมื่อยังหนุ่มแน่น แข็งแรงแต่เกียจคร้าน ไม่ขยันในเวลาที่ควรขยัน มีความคิดตกต่ำ คนเกียจคร้านเฉื่อยชาเช่นนี้ ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
The idler who strives not when he should strive, Who though young and strong is slothful, Who is feeble in maintaining right-mindedness, And who is sluggish and inert- Such a one finds not the way to wisdom.
๒๘๑. วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ ฯ ๒๘๑ ฯ
พึงระวังวาจา พึงสำรวมใจ ไม่พึงทำบาปทางกาย พึงชำระทางกรรมทั้งสามนี้ให้หมดจด เมื่อทำได้เช่นนี้ เขาพึงพบทาง ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแสดงไว้
Ever watchful in speech, Restrained in mind let him be, Let him commit no evil in deed. These three ways of action let him purify, And so win the way proclaimed by the Buddhas.
๒๘๒. โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย เอตํ เทฺวธาปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ ฯ ๒๘๒ ฯ
ปัญญาเกิดมีได้เพราะตั้งใจพินิจ เสื่อมไปเพราะไม่ได้ตั้งใจพินิจ เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว ควรจะทำตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ
Indeed from concentration springs wisdom, Without concentration wisdom wanes. Knowing this twofold way of loss and gain, Let him so conduct himself That wisdom may grow well.
๒๘๓. วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายเต ภยํ เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว ฯ ๒๘๓*
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงถางป่า (ราคะ) แต่อย่าตัดต้นไม้ (จริงๆ) ภัยย่อมเกิดจากป่า (ราคะ) พวกเธอทำลายป่า และพุ่มไม้เล็กๆ (ราคะ) ได้แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีป่า (ราคะ)
Cut down the forest (of passion) but not real trees, In the forest (of passion) is danger. Cut the forest and brushwood (of passion), Be forestless, O bhikkhus.
* คาถานี้เป็นการเล่นคำ วน กับ นิพฺพน วน แปลว่า ป่าหรือกิเลส นิพฺพน แปลว่า ไม่มีป่าหรือไม่มีกิเลส อันได้แก่นิพพาน (นิพฺพน>นิพฺพาน)
๒๘๔. ยาวญฺหิ วนโถ น ฉิชฺชติ อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ ปฏิพทฺธมโนว ตาว โส วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ ฯ ๒๘๔ ฯ
ตราบใดบุรุษยังตัดความกำหนัด ต่ออิสตรีแม้นิดหน่อยยังไม่ขาด ตราบนั้นเขาก็ยังคงมีจิตผูกพันอยู่ในภพ เหมือนลูกโคยังไม่หย่านมติดแม่โคแจฉะนั้น
As long as the brushwood of lust, however small, Of a man towards a woman is not destroyed, So long is his mind attached(to existence) As a sucking calf to its mother-cow.
๒๘๕. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ ฯ ๒๘๕ ฯ
จงถอนความรักของตน เหมือนคนถอนดอกบัวที่เกิดในฤดูสารท จงเพิ่มพูนแนวทางแห่งสันติ คือ นิพพาน ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
Root out your affection As an autumn lily is plucked. Cultivate the Path of Peace Made known by the Blessed One.
๒๘๖. อิธ วสฺสํ วสิสฺสามิ อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ อิติ พาโล วิจินฺเตติ อนฺตรายํ น พุชฺฌติ ฯ ๒๘๖ ฯ
“เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูฝน เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน” คนโง่มักคิดเช่นนี้ หารู้อันตรายจะมาถึงตัวเองไม่
‘Here shall I live in the rains, Here in the autumn and in the summer’, Thus thinks the fool, and does not realize The danger of his own life.
๒๘๗. ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจํ อาทาย คจฺฉติ ฯ ๒๘๗ ฯ
ผู้ที่มัวเมาอยู่ในบุตรและปศุสัตว์ มีมนัสติดข้องอยู่ ย่อมถูกมฤตยูฉุดคร่าไป เหมือนชาวบ้านที่หลับไหล ถูกกระแสน้ำใหญ่พัดพา
On children and flocks Whose mind is attached and set, Him Death carries away As a great flood a sleeping village.
๒๘๘. น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา ฯ ๒๘๘ ฯ
บุตรก็ป้องกันไม่ได้ บิดาหรือญาติก็ป้องกันไม่ได้ คนเราเมื่อถึงคราวจะตาย หมู่ญาติก็ป้องกันไม่ได้
No sons are there for protection, Neither father nor even kinsmen. For one who is assailed by death No protection is there found among kinsmen.
๒๘๙. เอตมตฺถวสํ ญตฺวา ปณฺฑิโต สีลสํวุโต นิพฺพานคมนํ มคฺคํ ขิปฺปเมว วิโสธเย ฯ ๒๘๙ ฯ
เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้ว คนฉลาดผู้สำรวมในศีล ไม่ควรชักช้า ในการตระเตรียมทาง ไปสู่พระนิพพาน
Thoroughly knowing this fact, The wise man, restrained in the rules, Delays not to clear the way That leads to Nibbana.

{gotop}

 

Schreibe einen Kommentar