Dhammapada ๘. หมวดพัน – The Thousands / Sahassa – Tausend
Kapitel 8.
๑๐๐. สหสฺสํ อปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๐ ฯ
คำพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคำ ก็สู้คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียวไม่ได้ เพราะฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ
Better than a thounsand useless words Is one beneficial single word, Hearing which one is pacified.
๑๐๑. สหสฺสํ อปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๑ ฯ
บทกวีตั้งพันโศลก แต่ไร้ประโยชน์ ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
Better than a thounsand verses, Comprising useless words, Is one beneficial single line, Hearing which one is pacified.
๑๐๒. โย จ คาถาสตํ ภาเส อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๒ ฯ
บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจำได้ตั้งร้อยโศลก แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว
Should one recite a hundred verses, Comprising useless words, Better is one single word of the Dhamma, Hearing which one is pacified.
๑๐๓. โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม ฯ ๑๐๓ ฯ
ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพันๆ ราย ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน จึงเรียก “ยอดขุนพล” แท้จริง
Though one should conquer in battle A thounsand times a thounsand men, Yet should one conquer just oneself One is indeed the greatest victor.
๑๐๔-๕. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ยาจายํ อิตรา ปชา อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส นิจฺจํ สญฺญตจาริโน เนว เทโว น คนฺธพฺโพ น มาโร สห พฺรหฺมุนา ชิตํ อปชิตํ กยิรา ตถารูปสฺส ชนฺตุโน ฯ ๑๐๔-๕* ฯ
เอาชนะตนได้นั้นแลประเสริฐ ผู้ที่ฝึกตนได้ระวังระไวตลอดเวลา ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม ก็เอาชนะไม่ได้
Better indeed is it to conquer oneself, Neither a god nor a Gandharva Neither Mara nor Brahma Could turn into defeat the victory of one Who is self-madtered and self-controlled.
* โปสสฺส (โปส + สฉัฏฐีวิภัติ) ย่อมาจาก ปุริส ซึ่งยืมมาจาก ศัพท์เฉพาะในอุปนิษัทอีกที (ปุรฺษ>ปุรุษ>ปุริส>โปสฺส>โปส) คำ โปส นี้ มีใช้เฉพาะในภาษาร้อยกรอง ส่วนภาษาร้อยแก้วมักใช้ ปุริส มากกว่า
๑๐๖. มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สตํ สมํ เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺตมฺปิ ปูชเย ยญฺเจว วสฺสตํ หุตํ ฯ ๑๐๖*ฯ
การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงหนึ่งครั้ง บังเกิดผลมหาศาล ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี
Though, month after month with a thousand, One should sacrifice for a hundred years, Yet, if, only for a moment, One should honour the self-restrained, That honour, indeed, is better Than a century of sacrifice.
* คำว่า ปูชนา ไม่นิยมใช้ในที่อื่นนอกจากภาษาร้อยกรอง ที่ถูกควรมีรูปเป็น ปูชา
๑๐๗. โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ อคฺคึ ปริจเร วเน เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺจมฺปิ ปูชเย สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ ฯ ๑๐๗ ฯ
การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว บังเกิดผลมหาศาล ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า เป็นเวลาตั้งร้อยปี
Though one , for a century, Should tend the fire in the forest, Yet, if, only for a moment, He should honour the self-restrained, Thai honour, indeed, is better Than a century of sacrifice.
๑๐๘. ยงฺกิญฺจิ ยิฎฺฐํ ว หุตํ ว โลเก สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย ฯ ๑๐๘ ฯ
ไม่ว่ายัญชนิดไหนที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในส่ของการยกมือไหว้ ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมาาคแม้เพียงครั้งเดียว การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหนๆ
Whatever oblationnns and sacrifices One might offer for a year, Seeking merit thereby, All that is not worth a single quarter Of homage towards the upright Which is far more excellent.
๑๐๙. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ ๑๐๙*ฯ
ผู้กราบไหว้อ่อนน้อมถ่อมตัว ต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ อายุ ชื่อเสียง สุข และกำลัง
For one who is in the habit of Ever honouring and respecting the elders, Four qualities increase; Long life, Fame, happiness and strength.
* วณฺโณ ธรรมบทฉบับคันธารี จัดพิมพ์โดยศาสตราจารย์ จอห์น บราฟ เขียน กิตฺติ ซึ่งแปลว่าเกียรติ วณฺณ แปลได้หลาย นัยคือ ผิวพรรณ, อักษร, เกียรติ ข้าพเจ้าเห็นว่าความหมาย อย่างหลังนี้ เหมาะและมีเหตุผลดีกว่า จึงถือตามนี้ ซึ่งไม่ตรง กับมติที่ยึดถือกันมานานในประเทศนี้ ขอฝากไว้พิจารณาด้วย
๑๑๐. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ ๑๑๐ ฯ
ผู้มีศีล มีสมาธิ ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของคนทุศีล ไร้สมาธิ
Though one should live a hundred years, Without conduct and concentration, Yet, better is a single day’s life Of one who is moral and meditative.
๑๑๑. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ ๑๑๑ ฯ
ผู้มีปัญญา มีสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ทรามปัญญา ไร้สมาธิ
Though one shold live an hundred years, Without wisdom and concentration, Yet, better is a single day’s life Of one who is wise and meditative.
๑๑๒. โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ ฯ ๑๑๒ ฯ
ผู้มีความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสิรฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้เกียจคร้าน ไร้ความเพียร
Though one should live a hundred years, Sluggish and inactive Yet, better is a single day’s life Of one who intensely exerts himself.
๑๑๓. โย วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ ฯ ๑๑๓ ฯ
ผู้พิจารณาเห็นความเกิด-ดับแห่งสังขาร มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ไม่พิจารณาเห็น
Better is a single day’s life of one Who discerns the rise and fall of things Than a hundred years’life of one Who is not comprehending.
๑๑๔. โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อมตํ ปทํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อมตํ ปทํ ฯ ๑๑๔ ฯ
ผู้พบทางอมตะ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ไม่พบ
Better is a single day’s life of one Who sees the Deathless Than a hundred years’s life of one Who sees not that state.
๑๑๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตมํ ฯ ๑๑๕ ฯ
ผู้เห็นพระธรรมอันประเสริฐ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้ไม่เห็น
Better is a single day’s life of one Who understands the truth sublime Than a hundred years’s life of one Who knows not that truth, so high.
{gotop}